4 วิธีรับมือ..เวลาลูกน้อยใจ

Published by adminclickonline on

4 วิธีรับมือ..เวลาลูกน้อยใจ

ถ้าลูกของคุณมีพฤติกรรม ทำลายข้าวของ ไม่เชื่อฟัง และ ไม่พูดกับคุณ
พฤติกรรมเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณอันตรายที่บอกคุณว่า ⁉
.
” ลูกของคุณนั้นกำลังน้อยใจคุณอยู่ “
.
โดยสาเหตุที่ทำให้ลูกของคุณมีพฤติกรรมขี้น้อยใจ
ก็อาจจะมาจากการที่คุณไป ตำหนิลูก ขัดใจลูก หรือ ตักเตือนลูก 🙎‍♀️
ในกิจกรรมหรือการกระทำที่ลูกของคุณนั้นกำลังให้ความสนใจอยู่ ‼️
.
ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมานั้นก็คือ…ลูกของคุณจะแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้
เช่น ทำลายข้าวของ ไม่เชื่อฟัง อุทานคำหยาบใส่ และเก็บตัวอยู่แต่ในห้อง
.
ถ้าพ่อแม่อย่างเรานั้น ไม่ยอมทำความเข้าใจ และ ไม่รีบแก้ไขปัญหา
ของพฤติกรรมขี้น้อยใจของลูกแล้วล่ะก็ ลูกของคุณก็อาจจะกลายเป็นเด็ก
ที่มีปัญหาในอนาคตอย่างแน่นอนครับ 🙍‍♂️🙍‍♀️
.
📌วันนี้พ่อม้าน้ำขอมานำเสนอ ” 4 วิธีรับมือ..เวลาลูกน้อยใจ “
เพื่อที่จะทำให้คุณสามารถรับมือกับลูกของคุณในเวลาที่เขารู้สึกน้อยใจ
ได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์อย่างสูงที่สุดครับ
.
ถ้าครอบครัวไหนมีวิธีการรับมือกับอาการลูกขี้น้อยใจนอกเหนือจาก 4 ข้อ
ที่พ่อม้าน้ำกล่าวแล้วละก็ พ่อม้าน้ำขอทราบถึงวิธีการที่แต่ละบ้านใช้หน่อยครับ
.
โดยที่คุณพ่อคุณแม่สามารถพิมพ์มาที่ใต้คอมเม้นต์นี้ได้เลยนะครับ
แล้วเดี้ยวพ่อม้าน้ำจะมานั่งตอบทุกๆคอมเมนต์เลยครับ 😍
.

คุยกับลูกด้วยเหตุและผล

วิธีที่ 1 คุยกับลูกด้วยเหตุและผล
.
ถามลูกถึงสาเหตุที่ทำให้ลูกของคุณรู้สึกน้อยใจโดยที่พ่อแม่อย่างเรานั้น
ต้องพูดกับลูกด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลและเป็นกันเอง
.
วิธีนี้นอกจากลูกของคุณจะหายน้อยใจแล้ว
ก็ยังจะทำให้คุณนั้นเข้าใจลูกของคุณได้มากยิ่งขึ้น
แถมเป็นการฝึกให้ลูกได้ใช้เหตุและผลไปด้วยในตัวครับ
.

อย่าเมินเฉยต่อพฤติกรรมน้อยใจของลูก

วิธีที่ 2 อย่าเมินเฉยต่อพฤติกรรมน้อยใจของลูก
.
การที่พ่อแม่เมินเฉยต่อพฤติกรรมที่ลูกรู้สึกน้อยใจนั้น
ก็จะทำให้ลูกของเรามีอาการน้อยใจมากยิ่งขึ้น
.
และสิ่งนี้ก็ยังจะเป็นการซ้ำเติมความรู้สึกของลูก
แถมลูกของคุณก็อาจจะคิดว่าพ่อกับแม่อาจจะไม่รักเขาแล้ว
.
วิธีที่พ่อแม่อย่างเราควรที่จะทำก็คือการเข้าไปพูดคุยกับลูก
ว่าตอนนี้เขากำลังมีความรู้สึกอย่างไร เช่น รู้สึกโกรธ รู้สึกโมโห รู้สึกเศร้า
รู้สึกเสียใจ หรือรู้สึกน้อยใจ และเมื่อลูกของเราสามารถบอกถึงความรู้สึก                                           ที่เขากำลังเผชิญได้ พ่อแม่อย่างเราก็แค่เข้าไปพูดคุยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อปรับความเข้าใจ
.

ให้ความสนใจลูกบ้าง

วิธีที่ 3 ให้ความสนใจลูกบ้าง
.
อันนี้น่าจะเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ
ที่ทำให้ลูกของทุกๆบ้านเกิดความน้อยใจกันเลยที่เดียวครับ
.
เมื่อเวลาที่ลูกอยากทำกิจกรรมร่วมกับคนภายในบ้าน
แต่ด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้คุณไม่สามารถทำร่วมกับเขาได้
.
สิ่งที่จะตามมาก็คือลูกของคุณจะรู้สึกน้อยใจ
และคิดว่าตนเองไม่มีความสำคัญเท่ากับกิจกรรมที่คุณทำอยู่
และถ้าคุณยิ่งไม่สนใจลูกของคุณอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ
ลูกของคุณก็จะยิ่งเกิดความน้อยใจมากยิ่งขึ้นไปอีก
จนอาจถึงขั้นที่เขาคิดฆ่าตัวตายได้เลยครับ 💔
.
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านควรที่จะมีเวลาทำกิจกรรม
ร่วมกันกับลูกของคุณบ้าง เพื่อที่ลูกของคุณจะได้รู้สึกว่า
เขายังเป็นคงเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวอยู่ 👨‍👩‍👧

.

หากิจกรรมทำร่วมกัน

ถ้าวิธีการที่1 ถึง 3 ที่ผมกล่าวมานั้น
ยังคงใช้ไม่ได้ผลแล้วละก็ผมขอแนะนำวิธีนี้ครับ
.
วิธีการที่ 4 หากิจกรรมทำร่วมกัน
.
คือ การหากิจกรรมที่ครอบครัวสามารถทำร่วมกันได้ เช่น
พาลูกไปซื้อของ พาลูกไปออกกำลังกาย พาลูกไปทำอาหารร่วมกัน ฯลฯ
เพื่อที่จะให้ลูกของคุณจะได้ปลดปล่อยอารมณ์เชิงลบ                                                                        และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับคนในครอบครัวของคุณได้อีกด้วย

0 Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *